พืช ผัก ผลไม้ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
สมุนไพร
การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน
ต้องมีการแข่งขันกันเกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะต้องเจอกับมลพิษ มลภาวะที่ไม่ดี
สารพิษเข้ามารอบด้าน เกิดการสะสมพิษต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย
อาหารการกินที่ไม่มีประโยชน์แถมให้โทษแก่ร่างกาย บางอย่างเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
แม้ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว มีหลายรูปแบบที่เข้ามาสู่ร่างกาย
เช่น ทางอาหาร ทางการดื่ม ทางการสูดอากาศบนท้องถนน
แล้วเราจะทำอย่างไรกับชีวิตดีล่ะ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่ใกล้ตัว
ก็สามารถกำจัดพิษในร่างกาย เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ในอนาคตอันใกล้
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ หากพูดถึง
“ความงาม” แล้ว
คุณผู้หญิงหรือท่านผู้ชายก็คงจะไม่ปฏิเสธว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน
และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยอื่นในการดำรงชีวิต
แต่ถ้าเราจะมองกันไปแล้ว “ความงาม” นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตัวของเรามีสุขภาพจิตและสุขภาพกายดี
ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน โดยปกติสุขภาพจะดีมาก-น้อยเพียงใด
ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม การรับประทานอาหาร และการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข
เมื่อร่างกายกินได้ ถ่ายคล่อง ผิวพรรณดี และสุขภาพแจ่มใส ” ความงาม”
ก็จะบังเกิดขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย
สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวหน้า
ใบหน้า คือ ด่านแรกที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจของผู้พบเห็น
แต่หลายๆคนกำลังประสบปัญหาผิวหน้าไม่เรียบสวย
เพราะเม็ดสิวและรอยแห้งกร้านด้วยจุดด่างดำของกระและฝ้า จนต้องเสียเงินทองมากมายเพื่อเข้าสถานเสริมความงาม
หรือหาซื้อยามารักษา จึงอยากแนะนำให้ใช้สมุนไพรพืชผักและผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไป
แต่มีคุณประโยชน์มากมายทั้งวิตามิน แร่ธาตุ
และสารบำรุงผิวธรรมชาติที่ช่วยดูแลผิวพรรณให้ชุ่มชื้นผ่องใสอ่อนไวอยู่เสมอ
สมุนไพร หมายถึง พืช
ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรือรักษาอาการการเจ็บป่วยต่าง ๆ
จะต้องนำสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิด
ขึ้นไปแล้วนำมาผสมกัน ซึ่งจะเรียกว่า “ยา”
1. ยาแผนโบราณ
หมายถึง ใช้ในการบำบัดโรค หรือยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแบบโบราณ
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ
หรือได้รับอนุญาติให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
หรือเป็นยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ
2. ยาสมุนไพร
หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนต่าง ๆของพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งยังมิได้แปรสภาพ
อาจจะดัดแปรงรูปลักษณะของสมุนไพร ให้นำมาใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น
การนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือ การนำมาบดเป็นผง ยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่น ๆ
ส่วนของจำพวกสัตว์ ได้แก่ หนัง กระดูก เขา หรือที่เป็นทั้งตัว ได้แก่ ไส้เดือน
ม้าน้ำ ตุ๊กแก เป็นต้น
“พืชสมุนไพร”
หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ
1. รูป ได้แก่
เปลือกไม้ แก่นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2. สี
มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีแดง สีดำ
3. กลิ่น
ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4. รส
ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสหวาน รสเปรี้ยว รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสเย็น
5. ชื่อ
ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร
ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร
การแปรรูปสมุนไพร
— การสกัดน้ำมันหอมระเหย
ในบางสมุนไพรบางชนิดจะมีกลิ่นที่หอม นำมาต้มแล้วนำน้ำมันสมุนไพร มาปรุง เป็นยาทา
ยาหอม ยาดม เป็นต้น
— การบดปั่น
เป็นผง ในสมัยโบราณ นำสมุนไพรมาตากแห้ง แล้วก็จะใช้ครกโขรกให้ละเอียด
— นิยมใช้ ราก
และ เปลือก นำไปตากแห้ง เพื่อให้ปริมาณน้ำของสมุนไพรลดลง ทำให้สมุนไพรมีขนาดเล็กลง
— การตากแห้ง
เป็นวิธีการที่ดีและได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
การปรุงยาสมุนไพร
รูปแบบในการใช้ประโยชน์ของสมุนไพร เพื่อนำมาใช้เป็น รับประทาน ประคบ
หรือการทา ประกอบด้วย
— การทำยาพอก
ใช้สมุนไพรรักษาภายนอก เช่น แผลติดเชื้อ แผลสด
— การคั้มน้ำ
นิยมใช้สมุนไพรสดมาทำ โดยการคั้นจากผล หรือใช้ใบของสมุนไพรมาใช้ประโยชน์
— การนำมาทำยาดอง
บางสมุนไพรไม่เหมาะที่จะมาทำรับประทานแบบสด จึงนำมาดอง
การดองเป็นรูปแบบหนึ่งที่รับประทานง่ายและได้ประโยชน์
— ยาชง
การนำสมุนไพรมาทำรูปแบบเป็นผงหรือบดละเอียด หยาบ มาผสมกับน้ำร้อน เพื่อนำมาดื่ม
— การต้ม
นำสมุนไพรนำมาผ่านการแปรรูป ต้ม นำสารที่มีประโยชน์ มารักษาโรค ได้แก่
รักษาโรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
การเก็บรักษายาสมุนไพร
การเก็บรักษายาสมุนไพร
เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง เพราะการเก็บรักษาโดยกรรมวิธีการแปรสภาพเป็นยา โดยการตากแห้ง
การบด การอบ หรือการทำเป็นลูกกลอน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา และหนอน
เป็นอย่างมาก เพราะต้องเก็บสมุนไพรในที่แห้ง และไม่อับชื้น จะได้คงความสภาพของยาไว้ได้นาน
ยาสมุนไพรมักจะมีปัญหาในการเก็บรักษาอย่างมาก หากเก็บรักษาไม่ได้คุณภาพ
ก็จะเกิดสีและกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป และจะทำให้ยาเสื่อมคุณภาพ ไม่ออกฤทธิ์
อย่างเต็มที่ เนื่องจากตัวยาได้หมดคุณภาพไปแล้ว
1. ควรเป็นสถานที่
ที่ไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทสะดวก และเย็น
เพื่อขับไล่ความชื้นที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อราในตัวสมุนไพรได้
2. ยาสมุนไพรจะต้องแห้ง
ไม่เปียกชื้น ควรจะนำยาสมุนไพรมาตากแดดสม่ำเสมอ ช่วยลดต่อการเกิดเชื้อรา
3. แบ่งตามประเภทของยา
เพื่อที่จะหยิบใช้ ได้ง่ายและสะดวก
4. ควรตรวจความเรียบร้อยในการเก็บรักษา
เพื่อป้องกันอย่าให้แมลงหรือสัตว์ ต่างๆ เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้
ผลไม้ หมายถึง
ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้
และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว ตัวอย่างผลไม้ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง
ทุเรียน รวมถึง มะเขือเทศ ที่สามารถจัดได้ว่าเป็นทั้งผักและผลไม้
ความหมายของคำว่า “สุขภาพ”
ในอดีตคำว่า
สุขภาพ หมายถึง สุขภาพกายเป็นหลัก ต่อมาจึงได้กล่าวถึงสุขภาพจิตร่วมไปด้วย
เพราะเห็นว่าคนที่มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง
แต่สุขภาพจิตเสื่อมโทรมหรือเป็นโรคจิตก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้
ซ้ำร้ายอาจจะทำร้ายผู้อื่นได้อีกด้วย
ปัจจุบัน คำว่า
สุขภาพ มิได้หมายเฉพาะสุขภาพกายและสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสุขภาพสังคม
และสุขภาพศีลธรรมอีกด้วย
สรุปว่าในความหมายของ
“สุขภาพ” ในปัจจุบันมีองค์ประกอบ 4 ส่วน
ด้วยกันคือ
1. สุขภาพกาย
หมายถึง สภาพที่ดีของร่างกาย กล่าวคือ
อวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ทำงานได้ตามปกติ
และมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน
2. สุขภาพจิต
หมายถึง สภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส
มิให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในจิตใจ
สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข
3. สุขภาพสังคม
หมายถึง สภาวะที่ดีของปัญญาที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว
ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ผัก
ผักเพื่อสุขภาพ
ที่ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน
ส่วนใหญ่จะมีสารเฉพาะตัวที่หากรับประทานสดจะส่งผลเสียกับร่างกายมากกว่าผลดี
เช่นในกะหล่ำปลีสดจะมีสารกอยโตรเจน ซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมสารไอโอดีนในร่างกาย
ดังนั้นหากรับประทานมากเกินไปก็จะส่งผลต่อต่อมไทรอยด์และทำให้เป็นโรคคอพอกได้
ซึ่งสารชนิดนี้นอกจากจะมีกะหล่ำปลีแล้ว ยังสามารถพบในบล็อกโคลี่และผักกาดขาว
ซึ่งนิยมนำมารับประทานสดๆคู่กับน้ำพริกอีกด้วยถึงแม้ในทางการแพทย์จะระบุไว้ว่าต้องรับประทานในปริมาณมากถึงจะส่งผลต่อร่างกายอย่างเห็นได้ชัด
แต่เพื่อความปลอดภัยในระยะยาวก็ควรนำไปปรุงให้สุกเสียก่อนหรือหากชอบรับประทานแบบสดๆก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและรับประทานผักชนิดอื่นร่วมด้วย
อย่างไรก็ตามหลายคนยังคงมีความเชื่อที่ว่าความร้อนจากกรรมวิธีในการปรุงอาหารจะทำให้สารอาหารอาหารหรือวิตามินต่างๆในผักเพื่อสุขภาพสูญเสียไป
ดังนั้นหากจำเป็นต้องปรุงผักให้สุกก่อนรับประทานควรใช้ความร้อนน้อยที่สุดและรับประทานทันทีเพื่อคงคุณค่าของสารอาหารให้ได้มากที่สุด
และควรใช้วิธีผัดหรือต้มแทนการลวกเนื่องจากวิตามินที่ออกมาจะยังคงอยู่ในน้ำผัดหรือน้ำแกง
ซึ่งหากเรานำมาราดข้าวหรือซดร้อนๆก็จะยังคงได้รับสารอาหารที่ค่อนข้างครบถ้วนอยู่
จะเห็นได้ว่าผักแต่ละชนิดมีวิธีในการรับประทานต่างกัน
หากอยากรับประทานให้ได้สารอาหารครบถ้วน ก็ควรเลือกชนิดของผักและวิธีการรับประทานให้ถูกต้อง
เพียงเท่านี้เราก็จะได้ทานผักเพื่อสุขภาพ
ที่ให้ประโยชน์สูงสุดกับร่างกายและดีต่อสุขภาพของเราในทุกๆ วัน ทุกๆ มื้ออาหาร
รวมถึงเทศกาลกินเจปีนี้กันด้วยค่ะ
พืช ผัก ผลไม้ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
สมุนไพร
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ หากพูดถึง
“ความงาม” แล้ว
คุณผู้หญิงหรือท่านผู้ชายก็คงจะไม่ปฏิเสธว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน
และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยอื่นในการดำรงชีวิต
แต่ถ้าเราจะมองกันไปแล้ว “ความงาม” นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตัวของเรามีสุขภาพจิตและสุขภาพกายดี
ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน โดยปกติสุขภาพจะดีมาก-น้อยเพียงใด
ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม การรับประทานอาหาร และการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข
เมื่อร่างกายกินได้ ถ่ายคล่อง ผิวพรรณดี และสุขภาพแจ่มใส ” ความงาม”
ก็จะบังเกิดขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย
สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวหน้า
ใบหน้า คือ ด่านแรกที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจของผู้พบเห็น
แต่หลายๆคนกำลังประสบปัญหาผิวหน้าไม่เรียบสวย
เพราะเม็ดสิวและรอยแห้งกร้านด้วยจุดด่างดำของกระและฝ้า จนต้องเสียเงินทองมากมายเพื่อเข้าสถานเสริมความงาม
หรือหาซื้อยามารักษา จึงอยากแนะนำให้ใช้สมุนไพรพืชผักและผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไป
แต่มีคุณประโยชน์มากมายทั้งวิตามิน แร่ธาตุ
และสารบำรุงผิวธรรมชาติที่ช่วยดูแลผิวพรรณให้ชุ่มชื้นผ่องใสอ่อนไวอยู่เสมอ
1. ยาแผนโบราณ
หมายถึง ใช้ในการบำบัดโรค หรือยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแบบโบราณ
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ
หรือได้รับอนุญาติให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
หรือเป็นยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ
2. ยาสมุนไพร
หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนต่าง ๆของพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งยังมิได้แปรสภาพ
อาจจะดัดแปรงรูปลักษณะของสมุนไพร ให้นำมาใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น
การนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือ การนำมาบดเป็นผง ยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่น ๆ
ส่วนของจำพวกสัตว์ ได้แก่ หนัง กระดูก เขา หรือที่เป็นทั้งตัว ได้แก่ ไส้เดือน
ม้าน้ำ ตุ๊กแก เป็นต้น
“พืชสมุนไพร”
หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ
1. รูป ได้แก่
เปลือกไม้ แก่นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2. สี
มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีแดง สีดำ
3. กลิ่น
ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4. รส
ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสหวาน รสเปรี้ยว รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสเย็น
5. ชื่อ
ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร
ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร
การแปรรูปสมุนไพร
— การสกัดน้ำมันหอมระเหย
ในบางสมุนไพรบางชนิดจะมีกลิ่นที่หอม นำมาต้มแล้วนำน้ำมันสมุนไพร มาปรุง เป็นยาทา
ยาหอม ยาดม เป็นต้น
— การบดปั่น
เป็นผง ในสมัยโบราณ นำสมุนไพรมาตากแห้ง แล้วก็จะใช้ครกโขรกให้ละเอียด
— นิยมใช้ ราก
และ เปลือก นำไปตากแห้ง เพื่อให้ปริมาณน้ำของสมุนไพรลดลง ทำให้สมุนไพรมีขนาดเล็กลง
— การตากแห้ง
เป็นวิธีการที่ดีและได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
การปรุงยาสมุนไพร
รูปแบบในการใช้ประโยชน์ของสมุนไพร เพื่อนำมาใช้เป็น รับประทาน ประคบ
หรือการทา ประกอบด้วย
— การทำยาพอก
ใช้สมุนไพรรักษาภายนอก เช่น แผลติดเชื้อ แผลสด
— การคั้มน้ำ
นิยมใช้สมุนไพรสดมาทำ โดยการคั้นจากผล หรือใช้ใบของสมุนไพรมาใช้ประโยชน์
— การนำมาทำยาดอง
บางสมุนไพรไม่เหมาะที่จะมาทำรับประทานแบบสด จึงนำมาดอง
การดองเป็นรูปแบบหนึ่งที่รับประทานง่ายและได้ประโยชน์
— ยาชง
การนำสมุนไพรมาทำรูปแบบเป็นผงหรือบดละเอียด หยาบ มาผสมกับน้ำร้อน เพื่อนำมาดื่ม
— การต้ม
นำสมุนไพรนำมาผ่านการแปรรูป ต้ม นำสารที่มีประโยชน์ มารักษาโรค ได้แก่
รักษาโรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
การเก็บรักษายาสมุนไพร
การเก็บรักษายาสมุนไพร
เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง เพราะการเก็บรักษาโดยกรรมวิธีการแปรสภาพเป็นยา โดยการตากแห้ง
การบด การอบ หรือการทำเป็นลูกกลอน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา และหนอน
เป็นอย่างมาก เพราะต้องเก็บสมุนไพรในที่แห้ง และไม่อับชื้น จะได้คงความสภาพของยาไว้ได้นาน
ยาสมุนไพรมักจะมีปัญหาในการเก็บรักษาอย่างมาก หากเก็บรักษาไม่ได้คุณภาพ
ก็จะเกิดสีและกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป และจะทำให้ยาเสื่อมคุณภาพ ไม่ออกฤทธิ์
อย่างเต็มที่ เนื่องจากตัวยาได้หมดคุณภาพไปแล้ว
1. ควรเป็นสถานที่
ที่ไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทสะดวก และเย็น
เพื่อขับไล่ความชื้นที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อราในตัวสมุนไพรได้
2. ยาสมุนไพรจะต้องแห้ง
ไม่เปียกชื้น ควรจะนำยาสมุนไพรมาตากแดดสม่ำเสมอ ช่วยลดต่อการเกิดเชื้อรา
3. แบ่งตามประเภทของยา
เพื่อที่จะหยิบใช้ ได้ง่ายและสะดวก
4. ควรตรวจความเรียบร้อยในการเก็บรักษา
เพื่อป้องกันอย่าให้แมลงหรือสัตว์ ต่างๆ เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้
ผลไม้ หมายถึง
ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้
และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว ตัวอย่างผลไม้ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง
ทุเรียน รวมถึง มะเขือเทศ ที่สามารถจัดได้ว่าเป็นทั้งผักและผลไม้
ความหมายของคำว่า “สุขภาพ”
ในอดีตคำว่า
สุขภาพ หมายถึง สุขภาพกายเป็นหลัก ต่อมาจึงได้กล่าวถึงสุขภาพจิตร่วมไปด้วย
เพราะเห็นว่าคนที่มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง
แต่สุขภาพจิตเสื่อมโทรมหรือเป็นโรคจิตก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้
ซ้ำร้ายอาจจะทำร้ายผู้อื่นได้อีกด้วย
ปัจจุบัน คำว่า
สุขภาพ มิได้หมายเฉพาะสุขภาพกายและสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสุขภาพสังคม
และสุขภาพศีลธรรมอีกด้วย
สรุปว่าในความหมายของ
“สุขภาพ” ในปัจจุบันมีองค์ประกอบ 4 ส่วน
ด้วยกันคือ
1. สุขภาพกาย
หมายถึง สภาพที่ดีของร่างกาย กล่าวคือ
อวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ทำงานได้ตามปกติ
และมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน
ผัก
ผักเพื่อสุขภาพ
ที่ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน
ส่วนใหญ่จะมีสารเฉพาะตัวที่หากรับประทานสดจะส่งผลเสียกับร่างกายมากกว่าผลดี
เช่นในกะหล่ำปลีสดจะมีสารกอยโตรเจน ซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมสารไอโอดีนในร่างกาย
ดังนั้นหากรับประทานมากเกินไปก็จะส่งผลต่อต่อมไทรอยด์และทำให้เป็นโรคคอพอกได้
ซึ่งสารชนิดนี้นอกจากจะมีกะหล่ำปลีแล้ว ยังสามารถพบในบล็อกโคลี่และผักกาดขาว
ซึ่งนิยมนำมารับประทานสดๆคู่กับน้ำพริกอีกด้วยถึงแม้ในทางการแพทย์จะระบุไว้ว่าต้องรับประทานในปริมาณมากถึงจะส่งผลต่อร่างกายอย่างเห็นได้ชัด
แต่เพื่อความปลอดภัยในระยะยาวก็ควรนำไปปรุงให้สุกเสียก่อนหรือหากชอบรับประทานแบบสดๆก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและรับประทานผักชนิดอื่นร่วมด้วย
อย่างไรก็ตามหลายคนยังคงมีความเชื่อที่ว่าความร้อนจากกรรมวิธีในการปรุงอาหารจะทำให้สารอาหารอาหารหรือวิตามินต่างๆในผักเพื่อสุขภาพสูญเสียไป
ดังนั้นหากจำเป็นต้องปรุงผักให้สุกก่อนรับประทานควรใช้ความร้อนน้อยที่สุดและรับประทานทันทีเพื่อคงคุณค่าของสารอาหารให้ได้มากที่สุด
และควรใช้วิธีผัดหรือต้มแทนการลวกเนื่องจากวิตามินที่ออกมาจะยังคงอยู่ในน้ำผัดหรือน้ำแกง
ซึ่งหากเรานำมาราดข้าวหรือซดร้อนๆก็จะยังคงได้รับสารอาหารที่ค่อนข้างครบถ้วนอยู่
จะเห็นได้ว่าผักแต่ละชนิดมีวิธีในการรับประทานต่างกัน
หากอยากรับประทานให้ได้สารอาหารครบถ้วน ก็ควรเลือกชนิดของผักและวิธีการรับประทานให้ถูกต้อง
เพียงเท่านี้เราก็จะได้ทานผักเพื่อสุขภาพ
ที่ให้ประโยชน์สูงสุดกับร่างกายและดีต่อสุขภาพของเราในทุกๆ วัน ทุกๆ มื้ออาหาร
รวมถึงเทศกาลกินเจปีนี้กันด้วยค่ะ